ไอเดีย

หมวดหมู่ : 

  • อื่นๆ
บันทึกแม่อิงเลี้ยงลูก
Super parent
รับมือลูกด้วยความสงบใจ
โพสเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563

ผู้เข้าชม

1501

  • 1501

    ผู้เข้าชม

  • 6

    ถูกใจ

  • 6

    นำไปใช้

  • 12

    แชร์


อดทน ใจเย็น นุ่มนวล มั่นคง นิ่งดุจหินผา
รับมือลูกด้วยความสงบใจ

ยามลูกงอแง กรีดร้อง และระเบิดอารมณ์พายุลูกนั้นอาจจะดูน่ากลัวไปบ้าง
แต่ความสงบ นิ่มนวล และนิ่ง ไม่สั่นคลอนจะช่วยให้พายุนั้นสงบลงในที่สุด

ยามลูกโวยวาย ให้เราตั้งสติให้มั่น
ยามลูกเสียงดัง ให้เราเสียงเบา
ยามลูกร้องไห้ ให้เรากอดลูก ถ้าลูกไม่ให้กอดก็นั่งลงข้างๆ 
ยามลูกทำร้ายตัวเอง ทำร้ายพ่อแม่ ทำลายข้าวของ ให้เราจับมือให้แน่น บอกจริงจังสั้นๆว่า “ไม่ให้ทำ”
ยามลูกอาละวาด ให้เราพาออกจากพื้นที่นั้น ให้ลูกสงบลง
ยามลูกตะโกนบอกไม่รัก ให้เรากอดลูกแล้วบอกลูกว่า “ไม่เป็นไร พ่อแม่รักลูกเสมอ”

ถ้าไม่พร้อมทั้งคู่ ให้รอจนกว่าจะพร้อม
ถ้าลูกไม่พร้อม ให้เรารอจนกว่าลูกจะพร้อม
พูดคุยเมื่อทั้งเราและลูกพร้อม
พูดคุยเพื่อทำความเข้าใจแล้วค่อยๆสอน 

ลูกจะใจเย็น ถ้าเราใจเย็นกับลูก
ลูกจะอดทน ถ้าเราอดทนกับลูก
ลูกจะควบคุมอารมณ์ได้ 
ถ้าเราควบคุมอารมณ์เราได้
ลูกจะเปิดใจกับเรา 
ถ้าเราเปิดใจให้กว้างและรับฟังลูก

ลูกซึมซับสิ่งที่เราเป็น 
ไม่ใช่สิ่งที่เราสอน

เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวในการเลี้ยงลูก

ด้วยรักจากใจ 
แม่อิง

#บันทึกแม่อิงเลี้ยงลูก
#บันทึกให้ลูกอ่าน
#การเลี้ยงลูกพัฒนาทั้งลูกและพ่อแม่
#เลี้ยงลูกเชิงบวก
#อดทนใจเย็นนุ่มนวลมั่นคงนิ่งดุจหินผา
#รับมือลูกด้วยความสงบใจ
#Parenting

หมวดหมู่ : 

  • อื่นๆ

เวลาลูกโวยวายงอแงนอกบ้าน มีวิธีรับมือแนะนำไหมคะ

  0

มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ชอบมากครับ


มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ


มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ลูกซึมซับในสิ่งที่เราเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เราสอน ... ชอบมากค่ะ

  1

มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ขอบคุณค่ะ :)


มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ดีมากเลย ขอบคุณค่ะ

  0

มีการตอบกลับ 0 รายการ


กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ถูกใจ

6

ถูกนำไปใช้

6


แลกเปลี่ยนความเห็น
กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ไอเดียที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
ทำไมเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่นั่งเฉยๆ?

ทำไมเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่นั่งเฉยๆ? สมองของเด็กที่นั่งเฉยๆ กับเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายต่างกันอย่างไร? สองรูปนี้คือรูปที่สแกนคลื่นความร้อนจากด้านบนศรีษะเด็ก 2 กลุ่ม- กลุ่มเเรก (รูปทางซ้าย) คือเด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที- กลุ่มที่สอง (รูปทางขาว) คือเด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาทีสมองของเด็กทั้งสองกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพในการจำเเละตอบสนอง ซึ่งเป็นปัจจัยต่อผลการเรียนของเด็กๆ โดยได้มีการให้เด็กสองกลุ่มทำแบบทดสอบด้านการอ่าน สะกดคำ และคิดเลข ผลปรากฏว่า เด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาที มีการตอบสนองที่เเม่นยำและเร็วกว่า เด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถอ่านจับใจความได้ดีกว่าอีกด้วยสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำจะมีการพัฒนาระบบบสอง 2 ส่วนที่เป็นปัจจัยทำให้มีผลการเรียนดี ได้แก่1. Working Memory - การถ่ายทอดข้อมูลจากความจำระยะสั้น (Short-term Memory) เป็น ความจำระยะยาว (Long-term Memory) เช่น รู้ว่าสามเท่าของสองคือหก ซึ่งเท่ากับ 3 คูณ 2 2. Relation Memory - ความสามารถในการจำข้อมูลเเละตอบสนองในสิ่งที่เห็นตรงหน้า เช่น การการตอบสนองเมื่อรู้ว่าต้องเลี้ยวซ้ายสรุปได้ว่าระบบสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้เคลี่อนไหวร่างกาย รวมทั้งมีผลดีต่อผลการเรียนเชิงวิชาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาระบบสมองถือเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในเด็กอายุ 3-8 ปี หากระบบสมองพัฒนาไม่เต็มที่เเละถูกวิธี ในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กได้เห็นแบบนี้เเละพ่อเเม่หรือคุณอย่าให้เด็กๆ นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน หมั่นพาเขาออกไปเล่น ไปทำกิจกรรมนอกเหนือจากการนั้งเรียนหน้าหน้าจอบ้างในช่วงนี้อ้างอิงhttps://activelivingresearch.org/sites/activelivingresearch.org/files/ALR_Brief_ActiveEducation_Jan2015.pdf?fbclid=IwAR2pTSz_XHC2Ux59Wn4K1W4qm2PPUt79j3a1Z50DbCU0u6CkJqbJxffmTck

  1676
  2
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
“การเล่น” คืองานของเด็ก” สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดี

“การเล่น” คืองานของเด็ก”พ่อเเม่หรือผู้ใหญ่บางท่านอาจจะคิดว่า การเล่นคือสิ่งที่การผ่อนคลายหลังจากการเรียนมาอย่างหนักหน่วง เเต่จริงๆ เเล้วการเล่นคือการเรียนรู้ที่สุดของลูกเด็กยุคใหม่เรียนหนักขึ้นทุกวัน เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนเเปลงไป พ่อเเม่หลายท่านต้องการให้ลูกของตัวเองมีพัฒนาการเเละเติบโตให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป หนึ่งในความคิดที่มีคือการให้ลูกเรียนหนักตั้งเเต่ยังเล็ก โดยเฉพาะในสังคมไทยที่พ่อเเม่มีความคาดหวังสูงที่จะให้ลูกเป็นไปเเบบที่ต้องการ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนล้วนมีความฝันเเละต้องการได้รับโอกาสที่จะ "ทดลองฝัน" ซึ่งสิ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝัน ได้มีจินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์คือ “การเล่น”Childhood (โรงเรียนริมป่า) คือภาพยนตร์สารคดีจากประเทศนอร์เวย์ที่พ่อเเม่เเละครูทุกท่านควรดู!ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เหล่าถึง โรงเรียนอนุบาลออโรร่าในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf) โดยทำการถ่ายทอดสิ่งที่เด็กทำในเเต่ละวัน มีทั้งการเดินสำรวจป่า ทำอาหาร ประดิษฐิ์ของเล่นของตัวเอง เล่นเเบบไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆ ฯลฯ ซึ่งไม่มีการนั่งเรียนเเบบ lecture ครูมีหน้าสำคัญในการเปิดโอกาสเเละสนับสนุนในสิ่งที่เด็กต้องการจะทำมีเเง่คิดดีๆ หลายข้อที่ได้หลังจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้เลยทอยากถ่ายทอดให้พ่อเเม่ทุกท่าน1. เราจะได้ยินคำพูดเชิงบวกเช่น “ได้เลย” “เยี่ยม” “ลองดูสิ” ระหว่างผู้ใหญ่เเละเด็กอยู่ตลอดทั้งเรื่อง โดยจะสังเก็ตเห็นได้ว่าคำพูดเหล่านี้ล้วนเเต่เป็นคำพูดที่สนับสนุน เปิดโอกาสให้เด็กๆ ทดลองทำในสิ่งที่เขาสงสัยเเละสนใจ โดยไม่ปิดกลั้นโอกาส ถึงเเม้สิ่งที่เด็กอยากทำอาจจะเสี่ยงเเละมีอันตรายบ้างก็ตาม เช่น เด็กใช้มีดเหลาดาบเพื่อใช้เล่นฟันดาบกับเพื่อน ลองกินเเมลง เป็นต้น ซึ่งคำพูดเหล่านี้ดูเผลินๆ อาจจะเป็นคำพูดธรรมดาๆ เเต่เเท้จริงทรงพลังเเละมีผลต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก“เราไม่ได้ต้องการเด็กที่เกรดดีกว่า แต่เราต้องการเด็กที่มี EF ดีกว่า ซึ่งการเล่นเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่สร้างเนื้อสมองลูกให้แข็งแรง”- นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์2. เด็กไม่ได้เล่นคนเดียว เเต่ยังสื่อสารเเลกเปลี่ยนการเล่นเเละมุมมองจากเพื่อนร่วมเล่นด้วย อย่างที่รู้กันดีว่าเด็กปัจจุบันใช้เวลาจำนวนมากไปกับโทรศัพท์มือถือ เเละเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ซึ่งเวลาเหล่านั้ควรเป็นที่เด็กได้เล่น ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน การที่เด็กอยุ่กับเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ทำให้เขาอยู่กับตัวเองมากจนเกินไป ในภาพยนตร์จะสังเกตเห็นว่าเด้กเล่นร่วมกันกับเพื่อน พูดคุยหยอกล้อเเลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้คือการที่พวกเขาได้เรียนรู้ซึ่งกันเเละกัน (Peer-learning) เเละได้ฝึกเเก้ไขปัญหา (Problem-solving) การตัดสินใจ (Decision-making) และการทำงานเป็นทีม (Collaboration) ร่วมกัน3. บทบาทของครูในเรื่องไม่ใช่ผู้สอนเเต่ความรู้ เเต่เป็นผู้ที่เขาใจถึงความคิดเเละสิ่งที่เด็กต้องการจริงๆ จากในหนังครูปล่อยอิสระเด็กให้ทำสิ่งที่อยากทำ ครูไม่เคยกำหนดเป้าหมายให้เด็กเลยว่า “การเล่นเเล้วต้องได้เเบบนี้นะ” “ต้องทำเเบบนี้ถึงจะถูก” เเต่ปล่อยให้เด็กค้นหาวิธีเเละออกเเบบการเล่นของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เด็กปฐมวัย (ถึงอายุ 8 ขวบ) เป็นวัยที่เขาควรออกเเบบการเล่นด้วยตัวเขาเอง โดยผู้ใหญ่มีหน้าที่เเค่เปิดโอกาสให้เขาได้เล่นอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะเล่นมั่วซั่ว เพราะการเล่นมั่วซั่วนี่เเหละคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ลองผิดลองถูกไป เดี่ยวเขาจะเรียนรู้เเละเข้าใจด้วยตัวเองเเนะนำพ่อเเม่ทุกท่านจริงๆ สำหรับภาพยนตร์สารคดี Childhood โรงเรียนริมป่า คิดว่าเหมาะกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ วัน การศึกษาไทยที่ไม่ตอบโจทย์ทักษะการคิดวิเคราะห์ จินตนาการต่างๆ บางทีพ่อเเม่อาจจะไม่สามารถพึ่งโรงเรียนได้เหมือนเเต่ก่อน ดังนั้นก็ควรปรับตัวเเละเปิดโอกาสให้ลูกของคุณได้เล่นมากขึ้น กำหนดเป้าหมายเเละความคาดหวังจากตัวเองให้น้อยลง เเละปล่อยให้เขาได้ลองผิดถูกด้วยตนเอง เพราะเด็กเป็นวัยที่ "มีการเล่นเป็นงาน ไม่ใช่การเรียน"สามารถดูภาพยนตร์ตัวอย่างได้ที่: 

  1755
  2
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
ไวรัสร้าย RSV ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเด็กๆในประเทศไทยป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV (ซึ่งย่อมาจาก Respiratory syncytial virus )เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีและเด็กๆ เริ่มไปโรงเรียน   โรคนี้ อาการในผู้ใหญ่และในเด็กโตจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา และหายได้เอง แต่ในเด็กเล็กจะแตกต่างจากไวรัสชนิดอื่นคือในช่วงแรกจะมีอาการไข้สูงและต่อมาจะมีน้ำมูกและไอมีเสมหะมาก บางรายจะมีอาการหายใจลำบากเหนื่อย ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการไอมากหายใจเหนื่อย กินได้น้อย ต้องรีบพามาพบแพทย์นะคะ   เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย  บางรายแพทย์อาจให้ตรวจน้ำมูกเพื่อหาเชื้อ RSV แต่เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรงบางครั้งก็สามารถรักษาตามอาการได้เลยค่ะ คือถ้าฟังปอดมีเสียงผิดปกติมักจะให้พ่นน้ำเกลือ พ่น ยาขยายหลอดลม ล้างจมูกและดูดเสมหะ ซึ่งในบางรายต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด     ในเด็กเล็ก เด็กที่มีโรคประจำตัวเช่น หอบหืด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอาการอาจจะรุนแรงมาก บางรายต้องให้ออกซิเจน หรือต้องใส่เครื่องช่วยหายใจได้ค่ะ   ไวรัส RSV ติดต่อทางเสมหะ น้ำมูกหรือน้ำลาย คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยได้โดยถ้าเด็กโตให้ใส่แมส ล้างมือบ่อยๆและหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนหนาแน่น ถ้าเด็กเริ่มมีอาการไอน้ำมูกแนะนำ   1. ให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ กรณีเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน 2. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ 3. ถ้ามีไข้ เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ 4. ถ้าไอมากขึ้นเหนื่อยให้รีบมาพบแพทย์นะคะ   โรคนี้เหมือนโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจชนิดอื่นคือเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้ค่ะ       ด้วยความปรารถนาดีจากแพทย์หญิงเดือนเพ็ญ วันทนาศิริ กุมารแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า

อยากให้ลูกมีความเข้มแข็งทางจิตใจ???

อยากให้ลูกมีความเข้มแข็งทางจิตใจ??? ความเข้มแข็งทางจิตใจหมายถึง ความสามารถในการพยายามต่อสู้ แก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ โดยใช้ศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่อย่างเต็มที่ถึงแม้ผลสุดท้ายจะแก้ปัญหานั้นๆไม่ได้ก็ตาม และสามารถยอมรับกับความล้มเหลวได้ ความเข้มแข็งทางจิตใจไม่ได้หมายถึง การไม่มีอารมณ์ความรู้สึก การไม่ร้องให้ หลายๆคนตีความว่าคนที่ร้องไห้คือคนอ่อนแอ แต่จริงๆแล้วจะดีกว่าถ้าเราสามารถรู้จักอารมณ์และเคารพความรู้สึกของตนเอง แต่สามารถหาทางควบคุมและจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม แล้วยังสามารถกลับมาพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติอีกครั้ง การเลี้ยงลูกให้มีความเข้มแข็งทางจิตใจ พ่อแม่สามารถฝึกลูกจากปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยเมื่อมีปัญหาพ่อแม่ต้อง #สอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดปัญหา ให้รู้พยายามตางไปตรงมากับความรู้สึกของตัวเอง เช่น เสียใจก็ร้องไห้ สนุกก็หัวเราะ #ถามถึงความรู้สึกของลูก ว่ารู้กำลังรู้สึกอะไรอยู่ ถ้าลูกไม่สามารถบอกได้พ่อแม่อาจบอกอารมณ์ที่ลูกกำลังรู้สึกให้ลูกรู้ เช่น หนูร้องไห้ เพราะหนูกำลังเสียใจ หนูเสียงดัง เพราะหนูกำลังโกรธ เป็นต้น #ถามลูกว่าอะไรเป็นเหตุให้ลูกรู้สึกอย่างนั้น ขั้นตอนนี้ควรปล่อยให้ลูกเรียนรู้อารมณ์และอยู่กับอารมณ์นั้นๆจนลูกเริ่มสงบลงแล้ว ค่อยๆตั้งคำถามด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น ถ้าลูกไม่แน่ใจเราอาจให้ตัวเลือกกับลูกได้ #ถามลูกว่าแล้วเราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดี โดยพ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกคิดเองก่อนว่าสำหรับลูกแล้วทางออกมีกี่ทาง และแต่ละทางเลือกมีผลดีผลเสียอย่างไร จากนั้นให้ลูกลองชั่งน้ำหนักและเลือกดู ระวังอย่าพยายามยัดเยียดความต้องการของเราให้ลูก แต่หากลูกเลือกทางที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นก็ควรบอกถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา และถามว่าลูกพร้อมจะรับผิดชอบต่อสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน #ให้กำลังใจลูกว่าเรารู้สึกแย่ได้ ร้องไห้ได้ แล้วเราจะมาพยายามแก้ปัญหากันใหม่ การแก้ปัญหาไม่ได้ในครั้งแรกเป็นเรื่องปกติ บางครั้งพ่อแม่ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ชมลูกว่าลูกเก่งมากแล้วที่พยายาม จากนั้นกอดลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกได้ว่าไม่ว่าอย่างไรพ่อแม่ก็รักและอยู่เคียงข้างลูกเสมอ อย่าลืมนะคะว่าความเข้มแข็งทางจิตใจไม่ใช่การห้ามหรือบอกลูกว่าอย่าร้องไห้ คนที่จิตใจเข้มแข็งต้องรักตัวเองเป็น มีself esteems ที่ดี เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง จะช่วยให้ลูกสามารถพยายามก้าวข้ามและต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆอย่างเหมาะสม มาเป็นโค้ชให้ลูกรัก แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจกันนะคะ #อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิกผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและครอบครัว โรงพยาบาลพระรามเก้า#เพจ: จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยนักจิตวิทยา

  1426
  1