ไอเดีย

โพสเมื่อวันที่ 01 2513

ผู้เข้าชม

0

  • 0

    ผู้เข้าชม

  • 0

    ถูกใจ

  • 0

    นำไปใช้

  • 0

    แชร์


ถูกใจ

0

ถูกนำไปใช้

0


แลกเปลี่ยนความเห็น
กรุณาเข้าสู่ระบบ
ก่อนแสดงความคิดเห็น

เข้าสู่ระบบ

ไอเดียที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
ทำไมเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่นั่งเฉยๆ?

ทำไมเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่นั่งเฉยๆ? สมองของเด็กที่นั่งเฉยๆ กับเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายต่างกันอย่างไร? สองรูปนี้คือรูปที่สแกนคลื่นความร้อนจากด้านบนศรีษะเด็ก 2 กลุ่ม- กลุ่มเเรก (รูปทางซ้าย) คือเด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที- กลุ่มที่สอง (รูปทางขาว) คือเด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาทีสมองของเด็กทั้งสองกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพในการจำเเละตอบสนอง ซึ่งเป็นปัจจัยต่อผลการเรียนของเด็กๆ โดยได้มีการให้เด็กสองกลุ่มทำแบบทดสอบด้านการอ่าน สะกดคำ และคิดเลข ผลปรากฏว่า เด็กที่ออกไปเดิน/วิ่งเล่นเป็นเวลา 20 นาที มีการตอบสนองที่เเม่นยำและเร็วกว่า เด็กที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลา 20 นาที ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถอ่านจับใจความได้ดีกว่าอีกด้วยสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำจะมีการพัฒนาระบบบสอง 2 ส่วนที่เป็นปัจจัยทำให้มีผลการเรียนดี ได้แก่1. Working Memory - การถ่ายทอดข้อมูลจากความจำระยะสั้น (Short-term Memory) เป็น ความจำระยะยาว (Long-term Memory) เช่น รู้ว่าสามเท่าของสองคือหก ซึ่งเท่ากับ 3 คูณ 2 2. Relation Memory - ความสามารถในการจำข้อมูลเเละตอบสนองในสิ่งที่เห็นตรงหน้า เช่น การการตอบสนองเมื่อรู้ว่าต้องเลี้ยวซ้ายสรุปได้ว่าระบบสมองของเด็กที่เคลี่อนไหวร่างกายเป็นประจำสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้เคลี่อนไหวร่างกาย รวมทั้งมีผลดีต่อผลการเรียนเชิงวิชาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาระบบสมองถือเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในเด็กอายุ 3-8 ปี หากระบบสมองพัฒนาไม่เต็มที่เเละถูกวิธี ในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กได้เห็นแบบนี้เเละพ่อเเม่หรือคุณอย่าให้เด็กๆ นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน หมั่นพาเขาออกไปเล่น ไปทำกิจกรรมนอกเหนือจากการนั้งเรียนหน้าหน้าจอบ้างในช่วงนี้อ้างอิงhttps://activelivingresearch.org/sites/activelivingresearch.org/files/ALR_Brief_ActiveEducation_Jan2015.pdf?fbclid=IwAR2pTSz_XHC2Ux59Wn4K1W4qm2PPUt79j3a1Z50DbCU0u6CkJqbJxffmTck

  1786
  2
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
“การเล่น” คืองานของเด็ก” สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดี

“การเล่น” คืองานของเด็ก”พ่อเเม่หรือผู้ใหญ่บางท่านอาจจะคิดว่า การเล่นคือสิ่งที่การผ่อนคลายหลังจากการเรียนมาอย่างหนักหน่วง เเต่จริงๆ เเล้วการเล่นคือการเรียนรู้ที่สุดของลูกเด็กยุคใหม่เรียนหนักขึ้นทุกวัน เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนเเปลงไป พ่อเเม่หลายท่านต้องการให้ลูกของตัวเองมีพัฒนาการเเละเติบโตให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป หนึ่งในความคิดที่มีคือการให้ลูกเรียนหนักตั้งเเต่ยังเล็ก โดยเฉพาะในสังคมไทยที่พ่อเเม่มีความคาดหวังสูงที่จะให้ลูกเป็นไปเเบบที่ต้องการ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนล้วนมีความฝันเเละต้องการได้รับโอกาสที่จะ "ทดลองฝัน" ซึ่งสิ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝัน ได้มีจินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์คือ “การเล่น”Childhood (โรงเรียนริมป่า) คือภาพยนตร์สารคดีจากประเทศนอร์เวย์ที่พ่อเเม่เเละครูทุกท่านควรดู!ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เหล่าถึง โรงเรียนอนุบาลออโรร่าในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf) โดยทำการถ่ายทอดสิ่งที่เด็กทำในเเต่ละวัน มีทั้งการเดินสำรวจป่า ทำอาหาร ประดิษฐิ์ของเล่นของตัวเอง เล่นเเบบไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆ ฯลฯ ซึ่งไม่มีการนั่งเรียนเเบบ lecture ครูมีหน้าสำคัญในการเปิดโอกาสเเละสนับสนุนในสิ่งที่เด็กต้องการจะทำมีเเง่คิดดีๆ หลายข้อที่ได้หลังจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้เลยทอยากถ่ายทอดให้พ่อเเม่ทุกท่าน1. เราจะได้ยินคำพูดเชิงบวกเช่น “ได้เลย” “เยี่ยม” “ลองดูสิ” ระหว่างผู้ใหญ่เเละเด็กอยู่ตลอดทั้งเรื่อง โดยจะสังเก็ตเห็นได้ว่าคำพูดเหล่านี้ล้วนเเต่เป็นคำพูดที่สนับสนุน เปิดโอกาสให้เด็กๆ ทดลองทำในสิ่งที่เขาสงสัยเเละสนใจ โดยไม่ปิดกลั้นโอกาส ถึงเเม้สิ่งที่เด็กอยากทำอาจจะเสี่ยงเเละมีอันตรายบ้างก็ตาม เช่น เด็กใช้มีดเหลาดาบเพื่อใช้เล่นฟันดาบกับเพื่อน ลองกินเเมลง เป็นต้น ซึ่งคำพูดเหล่านี้ดูเผลินๆ อาจจะเป็นคำพูดธรรมดาๆ เเต่เเท้จริงทรงพลังเเละมีผลต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก“เราไม่ได้ต้องการเด็กที่เกรดดีกว่า แต่เราต้องการเด็กที่มี EF ดีกว่า ซึ่งการเล่นเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่สร้างเนื้อสมองลูกให้แข็งแรง”- นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์2. เด็กไม่ได้เล่นคนเดียว เเต่ยังสื่อสารเเลกเปลี่ยนการเล่นเเละมุมมองจากเพื่อนร่วมเล่นด้วย อย่างที่รู้กันดีว่าเด็กปัจจุบันใช้เวลาจำนวนมากไปกับโทรศัพท์มือถือ เเละเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ซึ่งเวลาเหล่านั้ควรเป็นที่เด็กได้เล่น ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน การที่เด็กอยุ่กับเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ทำให้เขาอยู่กับตัวเองมากจนเกินไป ในภาพยนตร์จะสังเกตเห็นว่าเด้กเล่นร่วมกันกับเพื่อน พูดคุยหยอกล้อเเลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้คือการที่พวกเขาได้เรียนรู้ซึ่งกันเเละกัน (Peer-learning) เเละได้ฝึกเเก้ไขปัญหา (Problem-solving) การตัดสินใจ (Decision-making) และการทำงานเป็นทีม (Collaboration) ร่วมกัน3. บทบาทของครูในเรื่องไม่ใช่ผู้สอนเเต่ความรู้ เเต่เป็นผู้ที่เขาใจถึงความคิดเเละสิ่งที่เด็กต้องการจริงๆ จากในหนังครูปล่อยอิสระเด็กให้ทำสิ่งที่อยากทำ ครูไม่เคยกำหนดเป้าหมายให้เด็กเลยว่า “การเล่นเเล้วต้องได้เเบบนี้นะ” “ต้องทำเเบบนี้ถึงจะถูก” เเต่ปล่อยให้เด็กค้นหาวิธีเเละออกเเบบการเล่นของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เด็กปฐมวัย (ถึงอายุ 8 ขวบ) เป็นวัยที่เขาควรออกเเบบการเล่นด้วยตัวเขาเอง โดยผู้ใหญ่มีหน้าที่เเค่เปิดโอกาสให้เขาได้เล่นอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะเล่นมั่วซั่ว เพราะการเล่นมั่วซั่วนี่เเหละคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ลองผิดลองถูกไป เดี่ยวเขาจะเรียนรู้เเละเข้าใจด้วยตัวเองเเนะนำพ่อเเม่ทุกท่านจริงๆ สำหรับภาพยนตร์สารคดี Childhood โรงเรียนริมป่า คิดว่าเหมาะกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ วัน การศึกษาไทยที่ไม่ตอบโจทย์ทักษะการคิดวิเคราะห์ จินตนาการต่างๆ บางทีพ่อเเม่อาจจะไม่สามารถพึ่งโรงเรียนได้เหมือนเเต่ก่อน ดังนั้นก็ควรปรับตัวเเละเปิดโอกาสให้ลูกของคุณได้เล่นมากขึ้น กำหนดเป้าหมายเเละความคาดหวังจากตัวเองให้น้อยลง เเละปล่อยให้เขาได้ลองผิดถูกด้วยตนเอง เพราะเด็กเป็นวัยที่ "มีการเล่นเป็นงาน ไม่ใช่การเรียน"สามารถดูภาพยนตร์ตัวอย่างได้ที่: 

  1891
  2
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้
ไวรัสร้าย RSV ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเด็กๆในประเทศไทยป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV (ซึ่งย่อมาจาก Respiratory syncytial virus )เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีและเด็กๆ เริ่มไปโรงเรียน   โรคนี้ อาการในผู้ใหญ่และในเด็กโตจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา และหายได้เอง แต่ในเด็กเล็กจะแตกต่างจากไวรัสชนิดอื่นคือในช่วงแรกจะมีอาการไข้สูงและต่อมาจะมีน้ำมูกและไอมีเสมหะมาก บางรายจะมีอาการหายใจลำบากเหนื่อย ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการไอมากหายใจเหนื่อย กินได้น้อย ต้องรีบพามาพบแพทย์นะคะ   เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย  บางรายแพทย์อาจให้ตรวจน้ำมูกเพื่อหาเชื้อ RSV แต่เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรงบางครั้งก็สามารถรักษาตามอาการได้เลยค่ะ คือถ้าฟังปอดมีเสียงผิดปกติมักจะให้พ่นน้ำเกลือ พ่น ยาขยายหลอดลม ล้างจมูกและดูดเสมหะ ซึ่งในบางรายต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด     ในเด็กเล็ก เด็กที่มีโรคประจำตัวเช่น หอบหืด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอาการอาจจะรุนแรงมาก บางรายต้องให้ออกซิเจน หรือต้องใส่เครื่องช่วยหายใจได้ค่ะ   ไวรัส RSV ติดต่อทางเสมหะ น้ำมูกหรือน้ำลาย คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยได้โดยถ้าเด็กโตให้ใส่แมส ล้างมือบ่อยๆและหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนหนาแน่น ถ้าเด็กเริ่มมีอาการไอน้ำมูกแนะนำ   1. ให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ กรณีเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน 2. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ 3. ถ้ามีไข้ เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ 4. ถ้าไอมากขึ้นเหนื่อยให้รีบมาพบแพทย์นะคะ   โรคนี้เหมือนโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจชนิดอื่นคือเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้ค่ะ       ด้วยความปรารถนาดีจากแพทย์หญิงเดือนเพ็ญ วันทนาศิริ กุมารแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า

อยากให้ลูกมีความเข้มแข็งทางจิตใจ???

อยากให้ลูกมีความเข้มแข็งทางจิตใจ??? ความเข้มแข็งทางจิตใจหมายถึง ความสามารถในการพยายามต่อสู้ แก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ โดยใช้ศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่อย่างเต็มที่ถึงแม้ผลสุดท้ายจะแก้ปัญหานั้นๆไม่ได้ก็ตาม และสามารถยอมรับกับความล้มเหลวได้ ความเข้มแข็งทางจิตใจไม่ได้หมายถึง การไม่มีอารมณ์ความรู้สึก การไม่ร้องให้ หลายๆคนตีความว่าคนที่ร้องไห้คือคนอ่อนแอ แต่จริงๆแล้วจะดีกว่าถ้าเราสามารถรู้จักอารมณ์และเคารพความรู้สึกของตนเอง แต่สามารถหาทางควบคุมและจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม แล้วยังสามารถกลับมาพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติอีกครั้ง การเลี้ยงลูกให้มีความเข้มแข็งทางจิตใจ พ่อแม่สามารถฝึกลูกจากปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยเมื่อมีปัญหาพ่อแม่ต้อง #สอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดปัญหา ให้รู้พยายามตางไปตรงมากับความรู้สึกของตัวเอง เช่น เสียใจก็ร้องไห้ สนุกก็หัวเราะ #ถามถึงความรู้สึกของลูก ว่ารู้กำลังรู้สึกอะไรอยู่ ถ้าลูกไม่สามารถบอกได้พ่อแม่อาจบอกอารมณ์ที่ลูกกำลังรู้สึกให้ลูกรู้ เช่น หนูร้องไห้ เพราะหนูกำลังเสียใจ หนูเสียงดัง เพราะหนูกำลังโกรธ เป็นต้น #ถามลูกว่าอะไรเป็นเหตุให้ลูกรู้สึกอย่างนั้น ขั้นตอนนี้ควรปล่อยให้ลูกเรียนรู้อารมณ์และอยู่กับอารมณ์นั้นๆจนลูกเริ่มสงบลงแล้ว ค่อยๆตั้งคำถามด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น ถ้าลูกไม่แน่ใจเราอาจให้ตัวเลือกกับลูกได้ #ถามลูกว่าแล้วเราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดี โดยพ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกคิดเองก่อนว่าสำหรับลูกแล้วทางออกมีกี่ทาง และแต่ละทางเลือกมีผลดีผลเสียอย่างไร จากนั้นให้ลูกลองชั่งน้ำหนักและเลือกดู ระวังอย่าพยายามยัดเยียดความต้องการของเราให้ลูก แต่หากลูกเลือกทางที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นก็ควรบอกถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา และถามว่าลูกพร้อมจะรับผิดชอบต่อสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน #ให้กำลังใจลูกว่าเรารู้สึกแย่ได้ ร้องไห้ได้ แล้วเราจะมาพยายามแก้ปัญหากันใหม่ การแก้ปัญหาไม่ได้ในครั้งแรกเป็นเรื่องปกติ บางครั้งพ่อแม่ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ชมลูกว่าลูกเก่งมากแล้วที่พยายาม จากนั้นกอดลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกได้ว่าไม่ว่าอย่างไรพ่อแม่ก็รักและอยู่เคียงข้างลูกเสมอ อย่าลืมนะคะว่าความเข้มแข็งทางจิตใจไม่ใช่การห้ามหรือบอกลูกว่าอย่าร้องไห้ คนที่จิตใจเข้มแข็งต้องรักตัวเองเป็น มีself esteems ที่ดี เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง จะช่วยให้ลูกสามารถพยายามก้าวข้ามและต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆอย่างเหมาะสม มาเป็นโค้ชให้ลูกรัก แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจกันนะคะ #อลิสา รัญเสวะ นักจิตวิทยาคลินิกผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและครอบครัว โรงพยาบาลพระรามเก้า#เพจ: จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยนักจิตวิทยา

  1496
  1